วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

• Camera Less Animation (Thaumatrope, Zoetrope, Flip book)


work 1 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง ภาพหมุน ( Thaumatrope )


WORK 1 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง ภาพหมุน
( THAUMATROPE )
หลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว
การที่เราเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่ฉายต่อเนื่องกัน ดูเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหวได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision) อันเป็นหัวใจของหลักการสร้างภาพยนตร์เพราะภาพยนตร์ก็คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบนั่นเอง ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ของเล่นที่ชื่อว่า ภาพหมุน ( Thaumatrope )


ภาพหมุน ( Thaumatrope )
Thaumatrope (อ่านว่า ธัมมาโทรป) เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) โดย ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton) ซึ่งได้แนวคิดมาจากเซอร์จอห์น เฮอร์เซล ผู้ที่สังเกตว่าสายตามนุษย์สามารถมองเห็นภาพทั้งสองด้านของเหรียญที่หมุน อยู่ได้พร้อมกัน

work 2 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง (Zoetrope)


WORK 2 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง ZOETROPE
Zoetrope


Zoetrope อุปกรณ์สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหวประดิษฐ์ขึ้นโดย William George Horner ค.ศ.1834 Zoetrope สร้างจากแนวคิดเดียวกับ Phenakistiscope แต่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถดูภาพได้ทีละหลายๆคนพร้อมๆกันโดยไม่ต้องดูอยู่หน้ากระจกเงาอีก อุปกรณ์นี้ลักษณะคล้ายกับกลองแต่เปิดฝาด้านบนออก วาดภาพวัตถุเคลื่อนไหวในช่วงต่างๆกันติดไว้รอบตัวถังด้านใน ผู้ชมสามารถนั่งอยู่ลอบๆแล้วมองภาพผ่านช่องเล็กๆได้พร้อมๆกัน


ค.ศ.1891 Thomas Alva Edison และผู้ช่วย William K.L.Dickson ได้ประดิษฐ์ Kinetoscope (อุปกรณ์สำหรับใช้ดูภาพเคลื่อนไหว ) ขึ้นที่สตูดิโอ ? Black Maria ? ซึ่งตั้งอยู่ที่ West Orange , New Jersy ห้องทดลองแห่งแรกของ Edison ตัวเครื่องทำด้วยไม้ขนาดสูง 4 ฟุตมีหลอดไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดแสงและใช้ฟิล์ม 35 มม. ฟิล์มมีความยาวประมาณ 30 ? 60 วินาที ผู้ชมต้องชมภาพยนตร์ผ่านทางเลนส์ที่ช่องด้านบนเครื่อง ผู้ชมสามารถชมภาพยนตร์ได้ทีละหนึ่งคนเท่านั้น

work 3 : Flipbook


WORK 3 : การสร้างแอนิเมชั่นโดยไม่ใช้กล้อง FLIP BOOK

Flipbook
ฟลิ๊บบุ๊ค (Flip Book) หรือเรียกง่ายๆว่า สมุดดีด คือการวาดภาพเคลื่อนไหวอย่างง่าย ลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ แล้วนำมาเย็บเป็นเล่ม โดยอาศัยหลักทฤษฎีภาพติดตามาใช้ จากการเปิดสมุดภาพด้วยความเร็ว จนเกิดเป็นงานอนิเมชั่น - ภาพเคลื่อนไหวดีๆ จากหน้ากระดาษที่สามารถจับต้องได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น